วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

  สมการ (Equation) เปฌนประโยคที่แสดงการเท่ากันของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์ = บอกการเท่ากัน (ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,2553 : 83)
สมการ (Equation) คือ การเท่ากันของนิพจน์ 2 นิพจน์ (ข้อความ 2 ข้อความ) โดยใช้เครื่องหมาย = และใช้ตัวแปรแทนสัญลักษณ์ของสมการ
ดังนั้นสมการ (Equation) หมายถึง จำนวน 2 จำนวนที่แสดงการเท่ากัน โดยใช้เครื่องหมาย = แทนการเท่ากัน
    ตัวแปร (Variable) คือ จำนวนที่ไม่ทราบค่า จะใช้สัญลักษณ์แทน เช่น x,y,z เป็นต้น
    การแก้สมการ คือ การหาคำตอบของสมการหรือการหาค่าตัวแปร
    คำตอบของสมการ คือ จำนวนที่แทนตัวแปรในสมการแล้วทำให้สมการเป็นจริง
    การตรวจคำตอบของสมการ คือ การนำคำตอบของสมการไปแทนค่าตัวแปรแล้วทำให้ค่าของสมการทั้งสองข้างเท่ากัน

 8.1 สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
นิยาม สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว คือ สมการที่มีตัวแปรหรือตัวไม่ทราบค่า (unknow)และเลขชี้กำลัง
ของตัวแปรเป็น  1  ตัวแปรอาจปรากฎเพียงข้างใดข้างหนึ่งของเครื่องหมาย  “ = ”  หรือ  ปรากฏทั้งสองข้างแต่เมื่อจัดรูปให้อยู่ในรูปผลสำเร็จโดยมี  x  เป็นตัวแปร    a , b  เป็นค่าคงตัว  และ a ไม่เท่ากับ  0  จะอยู่ในรูปแบบ
        สมการเป็น             ax + b = 0
 สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  จะมีค่าคำตอบเพียงค่าเดียวเท่านั้น  คือ  จำนวนที่เมื่อนำไปแทนค่าตัวแปรใน
 สมการแล้วทำให้สมการนั้นเป็นจริง   บางครั้งจะเรียกคำตอบของสมการว่า  รากของสมการ
คำสั่งของโจทย์ประเภทนี้มักใช้คำว่า  จงแก้สมการ  จงหาค่า  x  (ตัวแปรในสมการ)  จงหารากของสมการหรือจงหารคำตอบของสมการ
สมการ  2  สมการจะสมมูลกันก็ต่อเมื่อคำตอบของสมการ  ทั้งสองต้องเท่ากัน


8.2 การแแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สำหรับการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว พูดง่ายๆก็คือการหาคำตอบของสมการ
ตัวอย่างที่ จงหาคำตอบของ  x+2=14x+2=14
เราต้องการหาค่า x ว่า  x  คือตัวอะไรที่มีบวกกับ เลข 2 แล้ว มีค่าเท่ากับ 14  โจทย์ข้อนี้เป็นโจทย์ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน  สามารถที่จะคิดในใจได้ เลยว่า  x ก็คือ 12  นั่นเอง (เพราะ 12+2 = 14  ดังนั้น x = 12)  
วิธีที่ 1จากโจทย์    x + 2 = 14    เราต้องการหาค่า x  น่ะครับดังนั้นเราต้องกำจัด  2  ออกจาก x
โดยการนำ 2 ไปลบออกทั้งสองข้างของสมการจะได้
x + 2 - 2 = 14 - 2 (นำ 2 ลบออกทั้งสองข้างของสมการ)
x + 0      = 12
x             = 12
ตอบ  x = 12

วิธีที่ 2   จริงๆแล้ววิธีที่ 2 ก็เป็นวิธีเดียวกันกับวิธีที่ 1  ครับ แต่ใช้วิธีการอธิบายที่แตกต่างกัน แต่จริงๆแล้วเป็นวิธีเดียวกันนั่นแหล่ะครับ มาดูกันว่า วิธีที่ 2 ทำกันยังไง
จากโจทย์  x + 2 = 14     จะเห็นได้ว่า 2 บวกอยู่กับ x  เราจะย้าย 2  ออกจาก x ไปหา 14  

ที่นี้หลักการย้ายข้างมีอยู่ว่า
1. ถ้าจำนวนนั้นเป็นจำนวนจริงบวก เวลาย้ายข้างไปจะเป็นจำนวนจริงลบ (พูด ง่าย ๆจากบวกจะกลายเป็นลบ)
2. ถ้าจำนวนนั้นเป็นจำนวนจริงลบ เวลาย้ายข้างไปจะเป็นจำนวนจริงบวก (พูด ง่ายๆ จากลบจะกลายเป็นบวก)
3. ถ้าจำนวนนั้นคูณอยู่ เวลาย้ายข้าง จะย้ายไปหาร
4. ถ้าจำนวนนั้นหารอยู่ เวลาย้ายข้าง จะย้ายไปคูณ

2. ถ้าจำนวนนั้นเป็นจำนวนจริงลบ เวลาย้ายข้างไปจะเป็นจำนวนจริงบวก (พูด ง่ายๆ จากลบจะกลายเป็นบวก)
จากโจทย์        x - 5 = 20
x    =  20 + 5  (5 ลบอยู่ย้ายไปฝั่งขวาของสมการจะกลายเป็น -5  ) จะได้
x    = 25
ตอบ  x = 25

ตัวอย่างที่ จงหาคำตอบของ  5x = 40
วิธีทำ  ใช้หลักการย้ายข้างใช้ข้อที่
3. ถ้าจำนวนนั้นคูณอยู่ เวลาย้ายข้าง จะย้ายไปหาร
จาก    5x =  40       (5 คูณอยู่กับ x  ย้ายไปข้างไปหาร)

จะได้ x=405x=405
x =   8
ตอบ  x =  8

ตัวอย่างที่ 4    จงหาคำตอบของ   12x-1 = 11
วิธีทำ  จาก   12x-1 = 11  (ย้าย 1 ไปอยู่ฝั่งขวา จากลบจะกลายเป็นบวก)
จะได้       12x    = 11 + 1
12x    =  12         (ต่อไปย้าย 12 ไปหาร) จะได้
x=1212=1x=1212=1
ตอบ   x = 1

ตัวอย่างที่ จงหาคำตอบของ     x2=12x2=12

วิธีทำ ใช้หลักการย้ายข้างครับ   ใช้ข้อ
ข้อ 4  ถ้าจำนวนนั้นหารอยู่ เวลาย้ายข้าง จะย้ายไปคูณน่ะครับ (พูดง่ายๆก็คื่อ ถ้าหารอยู่ย้ายไปคูณ)
จากโจทย์  x2=12x2=12         จะได้
x   = 12(2)   (จาก 2  หารอยู่เวลาย้ายข้างจะย้ายไปคูณครับ จะได้ 12 คูณกับ 2 ซึ่งได้ 24 )
x  =  24
ตอบ  x = 24
 การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  ต้องอาศัยสมบัติการเท่ากันของจำนวนที่ว่า  จำนวน   2    จำนวน  
        ที่เท่ากันเมื่อเพิ่มหรือตัดออกเท่ากันย่อมเท่ากัน    
 ตัวอย่างที่ 1          จงหาคำตอบของสมการ    2x  –  5   =   8
 วิธีทำ                     จากสมการ            2x  –  5   =   8
                             จะได้                        2x  –  5  +  5   =   8 + 5      (นำ  5  ไปบวกทั้งสองข้าง)
                                                                                x  +  7   =   9
                       จะได้                       x  +  7  –  7   =   9  – 7   (นำ  -7  ไปบวกทั้งสองข้าง)
                                                                                       3x   =   15
                                1/3  .  3x   =   15 . 1/3                   (นำ 1/3  ไปคูณทั้งสองข้าง)
                                                                                    (1)x    =   5
                                                  x    =    5                                 นั่นคือ      x    =    5 


8.3 สมการเชิงเส้นสองตัวแปร

ระบบสมการเชิงเส้น    คือ  สมการเชิงเส้นมากกว่า  1  สมการขึ้นไป  แต่ละสมการจะมีตัวแปรมากกว่า  1  ตัว ถ้าตัวแปร  2  ตัวจะเรียกว่า  สมการเชิงเส้นสองตัวแปร  ซึ่งในระบบนี้จะมีสมการอย่างน้อย  2  สมการ  จึงจะหาค่าคำตอบของตัวแปรทั้งสองได้  เช่นเดียวกับสมการเชิงเส้น  3  ตัวแปร  ก็ต้องมีสมการอย่างน้อย  3  สมการ  จึงจะหาคำตอบของตัวแปรได้  โดยตัวแปรทุกตัวในสมการ  จะต้องอยู่ในรูปกำลังหนึ่ง  และอยู่ในรูปผลบวก หรือผลต่างระหว่างตัวแปรเหล่านั้น


1.   สมการเชิงเส้นสองตัวแปร
                รูปแบบระบบสมการสองตัวแปร     คือ
                                a 1  x  +  b 1 y      =             c 1           เมื่อ  a 1  และ  b 1  ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน
                                a 2  x  +  b2 y      =             c 2           เมื่อ  a 2  และ  b 2  ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน
                ส่วนระบบสมการเชิงเส้นมากกว่าสองตัวแปร  จะกล่าวถึงเล็กน้อยเท่านั้น
                                ในชั้นนี้จะศึกษาเกี่ยวกับการหาค่าตัวแปร   2   ตัวแปรจากระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ซึ่งถ้านำสมการทั้งสองมาเขียนกราฟเส้นตรง  และจุดที่กราฟทั้งสองตัดกัน  จะเป็นคำตอบของสมการนี้


 8.4 การแก้สมการเชิงเส้นสองตัวแปร

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรโดยใช้วิธีเขียนกราฟจะไม่สะดวก เนื่องจากเสียเวลามาก 
บางครั้งคำตอบที่ได้จากกราฟอาจพิจารณาหาคำตอบได้ยากเพราะคำตอบอาจไม่ใช้จำนวนเต็ม  
บางครั้งเป็นเศษส่วน (จำนวนตรรกะ)  จึงยากที่จะระบุจำนวนใดเป็นคำตอบของระบบสมการนี้
    การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร  ยังคงใช้สมบัติการเท่าเทียมกันกับการบวกและการคูณเช่นเดียวกับ  การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว นั่นคือ  สมบัติเกี่ยวกับการบวก  และการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากันย่อมเท่ากัน

หลักการสำคัญที่ใช้แก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
1. โดยวิธีแทนค่าตัวแปรตัวหนึ่งในรูปตัวแปรอีกตัวหนึ่ง
2. โดยการเขียนตัวแปรตัวหนึ่งในรูปของตัวแปรอีกตัวหนึ่งทั้งสองสมการแล้วนำมาเท่ากันเข้าสมการใหม่
3. โดยการทำสัมประสิทธิ์ตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งทั้งสองสมการให้เท่ากัน  เท่ากับ  ค.ร.น.  ของสัมประสิทธิ์เดิม  ของตัวแปรนี้ทั้งสองสมการ  แล้วนำมาบวกหรือลบกัน


ข้อสังเกต  ถึงแม้ว่าโจทย์ข้อนี้จะทำสัมประสิทธิ์ของ  x  ให้เท่ากัน  แล้วนำมาลบกันก็ได้แต่ไม่นิยมนำสมการมาลบกัน  เนื่องจากอาจผิดพลาดเรื่องเครื่องหมาย
35x + 42y             =             497
35x – 25y             =             95
          67y            =             402
ต้องระวัง 42y – (-25y)  บางครั้งอาจผิดพลาดเรื่องเครื่องหมาย จึงนิยมทำสัมประสิทธิ์ตัวแปรเดิมที่มีเครื่องหมายตรงกันข้ามกัน  แล้วนำมาบวกกัน  จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องเครื่องหมาย